ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

[รุ่นที่2]หลักสูตรเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการเรียนรู้วิชาเพิ่มเติมชีววิทยา แบบออนไลน์

IPST
การลงทะเบียนในหลักสูตรนี้ต้องได้รับการเชิญเท่านั้น

Course Summary

  1. หมายเลขหลักสูตร

    Bio007
  2. ชั้นเรียนเริ่ม

  3. ชั้นเรียนจบ

หลักสูตรเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการเรียนรู้วิชาเพิ่มเติมชีววิทยา แบบออนไลน์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ตามหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)

หลักสูตรเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการเรียนรู้วิชาเพิ่มเติมชีววิทยา แบบออนไลน์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ตามหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนรู้โดยผ่านการลงมือปฏิบัติ การคิดวิเคราะห์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร โดยกิจกรรมในหลักสูตร มีรายละเอียดดังนี้

  1. แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วย
    1.1 การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
    1.2 การสังเคราะห์โปรตีน
    1.3 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
    1.4 เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอและการสร้างดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์
    1.5 เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอกับการประยุกต์ใช้ด้านนิติวิทยาศาสตร์โดยการวิเคราะห์ STR
    1.6 ระบบประสาท
    1.7 ระบบต่อมไร้ท่อ
    1.8 จากหลักสูตรสู่แผนการจัดการเรียนรู้
    1.9 การวัดและประเมินผล
  2. การวิเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้และการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
    2.1 หลักสูตรเพิ่มเติมชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
    2.2 สมรรถนะ ทักษะ และบทบาทครูไทยในศตวรรษที่ 21
    2.3 แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้
    2.4 การออกแบบการจัดการเรียนรู้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ให้กับครูผู้สอนวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้วิชาเพิ่มเติมชีววิทยา ให้กับครูผู้สอนและพัฒนาไปสู่การเป็นวิทยากรแกนนำ สสวท. ในการอบรมขยายผลการจัดการเรียนรู้ให้ครูผู้สอนอื่น ๆ

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

ครูโครงการ สควค. จำนวน 40 คน และกำหนดคุณสมบัติดังนี้

  1. มีประสบการณ์การสอนวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา อย่างน้อย 5 ปี
  2. ได้รับมอบหมายในการจัดเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  3. ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาให้เข้าร่วมอบรมตามกำหนดการของ สสวท. และปฏิบัติงานตามเป้าหมายโครงการของ สสวท.
  4. ได้สมัครเข้าร่วมโครงการอบรม หลักสูตรเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการเรียนรู้วิชาเพิ่มเติมชีววิทยา แบบออนไลน์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ตามหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) และได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการอบรม

คณะวิทยากร

1 อ.ธันยากานต์ กุลศุภกร

อ.ธันยากานต์ กุลศุภกร

ผู้เชี่ยวชาญ สาขาการวัดและประเมินผลระดับชาติ

อีเมล kampa@ipst.ac.th

2 ดร.อรสา ชูสกุล

ดร.อรสา ชูสกุล

ผู้ชำนาญ สาขาเคมีและชีววิทยา

อีเมล ochoo@ipst.ac.th

3 อ.สมฤทัย ชัยโพธิ์

อ.สมฤทัย ชัยโพธิ์

ผู้ชำนาญ สาขาการวัดและประเมินผลระดับชาติ

อีเมล schai@ipst.ac.th

4 ดร.สุนัดดา โยมญาติ

ดร.สุนัดดา โยมญาติ

ผู้ชำนาญ สาขาเคมีและชีววิทยา

อีเมล syomy@ipst.ac.th

5 อ.วิลาส รัตนานุกูล

อ.วิลาส รัตนานุกูล

นักวิชาการอาวุโส สาขาเคมีและชีววิทยา

อีเมล wrata@ipst.ac.th

6 ดร.นันทยา อัครอารีย์

ดร.นันทยา อัครอารีย์

นักวิชาการ สาขาเคมีและชีววิทยา

อีเมล nauck@ipst.ac.th

7 ดร.ขวัญชนก ศรัทธาสุข

ดร.ขวัญชนก ศรัทธาสุข

นักวิชาการ สาขาเคมีและชีววิทยา

อีเมล ksatt@ipst.ac.th

9 อ.ปาณิก เวียงชัย

อ.ปาณิก เวียงชัย

นักวิชาการ สาขาเคมีและชีววิทยา

อีเมล pwein@ipst.ac.th

10 อ.ปุณยาพร บริเวธานันท์

อ.ปุณยาพร บริเวธานันท์

นักวิชาการ สาขาเคมีและชีววิทยา

อีเมล pbori@ipst.ac.th

11 ดร.ธเณศ เกิดแก้ว

ดร.ธเณศ เกิดแก้ว

นักวิชาการ สาขาเคมีและชีววิทยา

อีเมล thker@ipst.ac.th

คำถามที่พบบ่อย

ถาม: พบปัญหาการใช้งานระบบ ต้องทำอย่างไร

ตอบ: ท่านสามารถดำเนินการได้ดังนี้

  • ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาได้ที่ FAQ
  • ศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานระบบจาก “คู่มือการใช้งานระบบ”
  • หากท่านพบปัญหาอื่น ๆ สามารถแจ้งข้อมูลปัญหาได้ที่อีเมล teacherpd@ipst.ac.th ที่หัวเรื่องอีเมล โปรดระบุรหัสวิชา Bio007 ตามด้วยชื่อปัญหา เพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบ (ให้บริการในวันเวลาราชการ)

ถาม: หากมีข้อสงสัยในประเด็นเนื้อหาหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ จะทำอย่างไร

ตอบ: ท่านสามารถสอบถามได้ทางอีเมล orasa.c@proj.ipst.ac.th