เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้โลกในเอกภพ หน่วยการเรียนรู้กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก และหน่วยการเรียนรู้ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้และทักษะ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอนและมีกระบวนการพบกลุ่มเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกับทีมวิทยากร
เนื้อหาในการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 3 หน่วยการเรียนรู้ได้แก่
1. หน่วยการเรียนรู้ เรื่องโลกในเอกภพ มุ่งเน้นให้ครูผู้สอนได้เข้าใจการกำเนิดและการเปลี่ยนแปลงพลังงาน สสาร ขนาด อุณหภูมิของเอกภพ หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง ประเภทของกาแล็กซี โครงสร้างและองค์ประกอบของกาแล็กซีทางช้างเผือก กระบวนการเกิดและการสร้างพลังงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความส่องสว่างของดาวฤกษ์ และความสัมพันธ์ระหว่างความส่องสว่างกับโชติมาตรของดาวฤกษ์ ความสัมพันธ์ระหว่างสี อุณหภูมิผิว และสเปกตรัมของดาวฤกษ์ วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงสมบัติบางประการของดาวฤกษ์ กระบวนการเกิดระบบสุริยะ การแบ่งเขตบริวารของดวงอาทิตย์ ลักษณะของดาวเคราะห์ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต การเกิดลมสุริยะ พายุสุริยะ และผลที่มีต่อโลก รวมทั้งการสำรวจอวกาศและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งประกอบด้วย 4 บทเรียนดังนี้
บทเรียนที่ 1 เรื่อง เอกภพและกาแล็กซี
บทเรียนที่ 2 เรื่อง ดาวฤกษ์
บทเรียนที่ 3 เรื่อง ระบบสุริยะ
บทเรียนที่ 4 เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ
2. หน่วยการเรียนรู้ เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก มุ่งเน้นให้ครูผู้สอนได้เข้าใจการแบ่งชั้นและสมบัติของโครงสร้างโลก สาเหตุ และรูปแบบการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีที่สัมพันธ์กับการเกิดลักษณะธรณีสัณฐาน สาเหตุ กระบวนการเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ ผลกระทบ แนวทางการเฝ้าระวัง และการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วย 3 บทเรียนดังนี้
บทเรียนที่ 5 เรื่อง โครงสร้างโลก
บทเรียนที่ 6 เรื่อง การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
บทเรียนที่ 7 เรื่อง ธรณีพิบัติภัย
3. หน่วยการเรียนรู้ เรื่องลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ มุ่งเน้นให้ครูผู้สอนได้เข้าใจผลของแรงเนื่องจากความแตกต่างของความกดอากาศ แรงคอริออลิส ที่มีต่อการหมุนเวียนของอากาศ การหมุนเวียนของอากาศตามเขตละติจูดและผลที่มีต่อภูมิอากาศ ความสัมพันธ์ของการหมุนเวียนของอากาศและการหมุนเวียนของกระแสน้ำผิวหน้าในมหาสมุทร และผลต่อลักษณะลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก และแนวปฏิบัติเพื่อลดกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก รวมทั้งการแปลความหมายสัญลักษณ์ลมฟ้าอากาศที่สำคัญจากแผนที่อากาศ และข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย 3 บทเรียนดังนี้
บทเรียนที่ 8 เรื่อง การเกิดลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
บทเรียนที่ 9 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก
บทเรียนที่ 10 เรื่อง ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยากับการใช้ประโยชน์
จำนวนชั่วโมงเรียน
20 ชั่วโมง
เกณฑ์การผ่านการอบรม
เกณฑ์การผ่านมีคะแนนรวม 80% ขึ้นไป และพิจารณาจากภาระงานดังนี้
1. ผลงาน (รายบุคคล) ได้แก่ แบบบันทึกกิจกรรม แบบบันทึกการเรียนรู้ 70 คะแนน
2. การนำเสนอผลงานตอนพบกลุ่ม 15 คะแนน
3. แบบทดสอบท้ายบทเรียน 15 คะแนน
คำถามที่พบบ่อย
ถาม: พบปัญหาการใช้งานระบบ ต้องทำอย่างไร
ตอบ: ท่านสามารถดำเนินการได้ดังนี้
ถาม: หากมีข้อสงสัยในประเด็นเนื้อหาหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ จะทำอย่างไร
ตอบ: ส่งข้อสอบถามได้ที่อีเมล Eearth@proj.ipst.ac.th จะมีผู้เชี่ยวชาญประจำหลักสูตรคอยตอบคำถามที่ท่านสงสัย
(หมายเหตุ ผู้เชี่ยวชาญประจำหลักสูตร ไม่สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคหรือปัญหาการเข้าใช้งานระบบ)