ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลักสูตรพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเป็นผู้หนุนนำครูสู่ผู้อำนวยการเรียนรู้ (สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ)

IPST
การลงทะเบียนในหลักสูตรนี้ต้องได้รับการเชิญเท่านั้น

Course Summary

  1. หมายเลขหลักสูตร

    PD040
  2. ชั้นเรียนเริ่ม

  3. ชั้นเรียนจบ

หลักสูตรพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเป็นผู้หนุนนำครูสู่ผู้อำนวยการเรียนรู้ (สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ)

การพัฒนาบทบาทครูในฐานะผู้อำนวยการเรียนรู้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล เนื่องจากบริบทการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีที่หลากหลาย ครูจึงต้องปรับบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้สู่การเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ที่สามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจ และอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ วิเคราะห์ข้อมูล และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ครูในบทบาทใหม่นี้จำเป็นต้องพัฒนาทักษะการตั้งคำถามที่กระตุ้นการคิด การฟังอย่างตั้งใจ การสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยทางความคิด และการให้ข้อมูลย้อนกลับ ที่สร้างสรรค์ การที่ครูจะเปลี่ยนบทบาทเป็นครูผู้อำนวยการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูจะต้องมีทักษะในการวิเคราะห์ผู้เรียน ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้ครูสามารถมองเห็นมิติความแตกต่างของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เช่น พื้นฐานความรู้ ความถนัด รูปแบบการเรียนรู้ ความสนใจ แรงจูงใจ และบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของผู้เรียน โดยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้ครูปรับเปลี่ยนบทบาทสู่การเป็น ผู้อำนวยการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปสู่การเลือกใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ครูสามารถเลือกมาใช้ช่วยวิเคราะห์ผู้เรียนได้ง่ายขึ้น โดยอาจเป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง Adaptive Learning System หรือ Learning Analytics เช่น VARK Learning Styles หรือ Honey and Mumford Learning Styles เป็นต้น การสังเกตการณ์ชั้นเรียน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมสำคัญส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ครูได้เห็นภาพของการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จริง และได้ฝึกการสังเกต วิเคราะห์ และประเมินบทบาทของครูในฐานะผู้อำนวยการเรียนรู้ พร้อมทั้งเสนอแนวทางการปรับปรุงหรือพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระบวนการนี้จะช่วยเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ของครูอีกด้วย โดยกิจกรรมดังกล่าวสามารถดำเนินการผ่านกระบวนการ PLC ในโรงเรียนซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ