อาจารย์ภีมวัจน์ ธรรมใจ
ผู้ชำนาญ สาขาณิตศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
เป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ด้านความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา และการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) โดยมีการแนะนำแนวทางพร้อมตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ของวงกลม และรูปหลายเหลี่ยม ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม และรูปหลายเหลี่ยมชนิดอื่น ๆ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ของรูปเรขาคณิตสองมิติในการแก้ปัญหา
ทั้งนี้ ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำเสนอจะเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ คิดวิเคราะห์ และคาดการณ์ เพื่อนำไปสู่ที่มาของสูตรการหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตสองมิติชนิดต่าง ๆ ซึ่งตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม
เพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2 ที่สอดคล้องตามตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
16 ชั่วโมง
ลงทะเบียน: 3 กรกฎาคม - 25 สิงหาคม 2566
อบรม: 3 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2566
ผู้เรียนต้องเข้าอบรบและทำแบบทดสอบด้วยระบบออนไลน์ผ่านระบบอบรมครู (https://teacherpd.ipst.ac.th) ผสมผสานการพบปะพูดคุยเพื่อตอบคำถามหรือข้อสงสัยกับวิทยากรประจำหลักสูตรผ่านทาง Facebbok Live ของ Facebook Page: IPST SMT Teacher ประถมปลาย
ครั้งที่ 1 วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 เวลา 11.00-11.30 น.
ครั้งที่ 2 วันที่ 19 สิงหาคม 2566 เวลา 11.00-11.30 น.
ผู้เรียนต้องมีคะแนนรวมตั้งแต่ 75% ขึ้นไป จึงจะผ่านการอบรม โดยคะแนนรวมประกอบด้วยคะแนนจากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียน 70 คะแนน และคะแนนจากการทำแบบทดสอบหลังอบรม 30 คะแนน
ผู้ชำนาญ สาขาณิตศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
นักวิชาการอาวุโส สาขาณิตศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
นักวิชาการ สาขาณิตศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้ชำนาญ ฝ่ายบริหารเครือข่ายและพัฒนาครู สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้ชำนาญ สาขาเคมีและชีววิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ตอบ: ท่านสามารถดำเนินการได้ดังนี้